วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

วัฒนา นัทธี. (http://www.edtechno.com) ได้กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
            รูปแบบของสื่อหลายมิติมีดังนี้
1.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ รายงาน นิตยสารหนังสือเรียน  การ์ตูน เอกสารประกอบการสอน บทเรียนต่างๆ
            2.สื่อเทคโนโลยี  ได้แก่  สื่อการเรียนรู้ที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ  หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม    
            3.สื่ออื่นๆ เช่น อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ สำนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ  วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ 
            4.สื่อประสม (Multimedia) 


น้ำทิพย์  วิภาวิน. (http://images.minint.multiply.multiplycontent.com) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ คือการเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง “สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก “ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม
            ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
     1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
     2.ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
       2.1 ดูแผนภาพหรือภาพวาด
       2.2 ดูภาพถ่ายภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
       2.3 ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
     3.ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
     4.ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map)ของตน เพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
     5.สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
     6.ใช้แผนที่ระบบ (system map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป


            วิเศษศักดิ์  โคตรอาชา. (http://sirinapa005.blogspot.com) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ปัจจุบันสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปอย่างรวดเร็วโดยทั่วไปนั้นส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ ช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้


สรุป
            รูปแบบของสื่อหลายมิติมีดังนี้
      1.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ รายงาน นิตยสารหนังสือเรียน  การ์ตูน เอกสารประกอบการสอน บทเรียนต่างๆ
      2.สื่อเทคโนโลยี  ได้แก่  สื่อการเรียนรู้ที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ  หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม    
     3.สื่ออื่นๆ เช่น  สถานการณ์จำลอง การทัศนศึกษา การทำโครงงาน บทบาทสมมติ ฯลฯ
     4.สื่อประสม (Multimedia) 

อ้างอิง
น้ำทิพย์  วิภาวิน. (http://images.minint.multiply.multiplycontent.com). ประเภทของสื่อการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 21กรกฎาคม 2555
วิเศษศักดิ์  โคตรอาชา. (http://sirinapa005.blogspot.com). สื่อหลายมิติ. 
สืบค้นเมื่อวันที่ 21กรกฎาคม 2555
วัฒนา นัทธี. (http://www.edtechno.com). รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน.
สืบค้นเมื่อวันที่ 21กรกฎาคม 2555


สื่อการสอน คืออะไร

พิมพ์วรรณ เทพสุมาธานนท์. (http://us.geocities.com/inno41/rbkcskr.htm) 
ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ วิธีการต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อกลางระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น สื่อการสอนจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนการสอน ซึ่งแต่เดิมสื่อการสอนถูกเรียกว่า โสตทัศนูปกรณ์  สื่อการสอนแบ่งออกเป็น  3  ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
          1. เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการส่งสาร หรือส่งสื่อ ซึ่งเครื่องมือ หรืออุปกรณ์นี้ จำเป็นต้องมี ส่วนประกอบที่เรียกว่า soft ware เพื่อนำข้อมูลในวัสดุ ส่งไปยังผู้รับ
          2. วัสดุ (soft ware) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา ทำหน้าที่คือ การเก็บสารไว้ในตัว เพื่อใช้ประกอบกับเครื่องมือ หรืออุปกรณ์เพื่อใช้ในการส่งสาร หรือบางครั้ง ก็สามารถส่งสารด้วยตัวของมันเอง
          3. เทคนิค หรือวิธีการ เป็นการกระทำที่อยู่ในรูปแบบของการปฏิบัติ อาจจะใช้วัสดุเครื่องมือ หรือไม่ใช้ก็ได้ เทคนิคที่จัดว่าเป็นสื่อการสอนเช่น การแสดงนาฏการ การสาธิต การบรรยาย เป็นต้น

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (http://www.moe.go.th/wijai/techno.htm)ได้กล่าวว่า  สื่อการสอนเป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการถ่ายทอดสาร จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ซึ่งกระบวนการสื่อความหมายนั้น เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการสื่อความหมายด้วยเช่นกัน ซึ่งสื่อการสอนมีความสำคัญ คือ
1.            ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ที่กว้างขวางขึ้น
2.            ช่วยให้ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย
3.            ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการตอบสนองตามความคาดหวังที่คาดหวังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
4.            ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ
5.            ช่วยสอนสิ่งที่อยู่ในที่ลี้ลับ ไม่สามารถนำมาให้ดูโดยตรงได้ เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนแสดงการทำงานของอะตอม
6.            ช่วยในการวินิจฉัย หรือการซ่อมเสริมผู้เรียนได้


เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต. (http://us.geocities.com/inno41/btsrbkchs.htm)  ได้กล่าวว่า  สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ถ่ายทอดสารสนเทศไปสู่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการค้นคว้าหรือการแสวงหาความรู้ด้วนตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังนั้นสื่อการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษาจึงเปรียบเสมือนมือไม้ของครูที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน


สรุป
สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้ง ไว้ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการค้นคว้าหรือการแสวงหาความรู้ด้วนตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต


อ้างอิง
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (http://www.moe.go.th/wijai/techno.htm).  
สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2555
พิมพ์วรรณ เทพสุมาธานนท์. (http://us.geocities.com/inno41/rbkcskr.htm).
 สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2555
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต. (http://us.geocities.com/inno41/btsrbkchs.htm).
สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2555



สื่อประสม  คืออะไร

กิดานันท์ มลิทอง. (http://www.kmutt.ac.th) ได้กล่าวว่า  สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีทัศน์และเสียง

 ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (http://www.technicphotharam.com) ได้กล่าวว่า 
สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อการสอนหลายอย่างมาสัมพันธ์กันเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ในลักษณะที่สื่อแต่ละชิ้นส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน  สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบ (Multimedia) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถผสมผสานระหว่างข้อความ ข้อมูล ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนระบบโต้ตอบกับผู้ใช้(Interactive)มาผสมผสานเข้าด้วยกัน

อิริคสัน. (http://www.oknation.net) ได้กล่าวว่า  สื่อประสมหรือมัลติมีเดีย  หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน ต่อมาเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้มากขึ้น และสามารถใช้งาน ได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง ข้อความและภาพเคลื่อนไหว ทำให้ความหมายของสื่อประสมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนประกอบหลัก ที่มีใช้ทั่วไปของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะมี CD-ROM sound card และลำโพง เพิ่มเข้ามาในคอมพิวเตอร์ หรืออาจมีส่วนประกอบที่เกี่ยวกับการใช้งานวิดีโอด้วย นอกจากนี้ยังมีความหมายรวมถึงการใช้การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องวิดีโอเทปเสียง ซีดีรอม กล้องดิจิตอล โทรทัศน์ฯลฯ ให้ทำงานร่วมกัน การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์หลาย ๆ อย่างดังกล่าวจะต้องอาศัย โปรแกรม คอมพิวเตอร์ (Software) และอุปกรณ์ (Hardware) ต่าง ๆ ประกอบกัน บางครั้งจึงเรียกว่าสถานีปฏิบัติการมัลติมีเดีย (Multimedia workstation) 

สรุป 
สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน ซึ่งสื่อรูปแบบต่าง  ประกอบด้วยข้อความอักขระ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง เพื่อการศึกษา  ที่มีการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้หลากหลายแบบวิธี ซึ่งสื่อประสมก็เป็นการรวบรวมข้อมูลเนื้อหาเข้าด้วยกันเป็นไฟล์


อ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง. (http://www.kmutt.ac.th). สื่อการเรียนการสอน.
สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555
ชัยยงค์  พรหมวงศ์. (http://www.technicphotharam.com). การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ด้านสื่อผสม.สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555
อิริคสัน. (http://www.oknation.net). สื่อประสม.สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555



เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษาศึกษามีอะไรบ้าง 
และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

 
       ประภัสสร โคตรสมบัติ. ( http://www.school.net.th/)   ได้กล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษาไว้ว่า    เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้ 

          1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วย
สนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้
ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
         2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา   โดยเฉพาะการจัดการ
ศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ  การติดตาม
และประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
        3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้าน
การศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล  เช่น  การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับ
ผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น
การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น

ธนัสถ์  เกษมไชยานันท์. (2543:13-15) ได้กล่าวว่า  ในปัจจุบันประเทศไทยเองได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นกุญแจไปสู่การพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ตลอดจนการบริหารงานของรัฐ ซึ่งในด้านของการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาท ดังนี้ คือ
            1. การเปิดใช้บริงานคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Aided Instruction--CAI) เป็นการเปิดใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอนและเรียนรู้
           2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งช่วยยกระดับการศึกษาของพลเมือง โดยการกระจายความรู้ไปยังชนบทที่ห่างไกล ทำให้ประชาชนในชนบทได้รับความรู้มากขึ้นกว่าเดิม
            3. การสอนทางไกลระบบ video teleconference เป็นการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสื่อสารสองทาง ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างไกลกันแต่สามารถถามตอบกันได้ทันที
            4. การจัดทำสารานุกรม หนังสือหรือฐานข้อมูลทางการศึกษา โดยใช้มัลติมีเดียหรือสื่อประสมที่สามารถแสดงได้ทั้งภาพ
ภาพเคลื่อนไหว เสียงและข้อมูล
            5. การนำเทคโนโลยีฐานข้อมูลมาใช้ในงานห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูล เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร บทความ รายงาน หนังสือ ฯลฯ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ 


เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545:125). ได้กล่าวว่า  บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้
            1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้   ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น  ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียระบบวิดีโอออนดีมานด์,  วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
            2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ  การติดตาม  ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม 
            3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล   เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับผู้เรียน  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร   การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น



สรุป
การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการจัดการศึกษาที่เป็นการศึกษาตลอดชีวิต  นั่นคือ  การจัดการศึกษาในภาพรวมทั้งหมดที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ที่จัดให้แก่บุคคลทุกช่วงอายุตั้งแต่เกิดจนตาย เพื่อมุ่งพัฒนาบุคคลอย่างเต็มศักยภาพให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสมในทุกช่วงชีวิต  บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา  ประกอบด้วย
              1.เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้   ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง
              2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ  การติดตาม  ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม 
              3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล    ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน   

  
อ้างอิง
ธนัสถ์  เกษมไชยานันท์. (2543). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อการพัฒนาต้นแบบระบบสารสนเทศ. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา: หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ, คณะศึกษาศาสตร์. 
ประภัสสร โคตรสมบัติ. ( http://www.school.net.th/). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา.
สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2555